หน้าเว็บ

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

“ครู” ผู้สอนและผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง | School of Changemakers

“ครู” ผู้สอนและผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง

07 Mar 2016 22:56   Nattinee Sae-Ho
ตั้งแต่เริ่มเข้ามาคลุกคลีในวงการการศึกษาไทย และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลกจากหนังสือและบทความมากมาย ทำให้เรามีความเชื่อมาตลอดว่า 'ครู' คือปัจจัยสำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สามารถพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่สมบูรณ์ มีความรู้และทักษะที่ทำให้เด็กๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ และสามารถสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราก็ยังคงหวังว่าจะมีหน่วยงาน หรือผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองสักคนเห็นความสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนหลักสูตร หรือออกนโยบายที่สามารถปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง
ในขณะที่ความหวังเหล่านั้นจะดูเหมือนริบหรี่ลง และ 'ครู' ก็ตกเป็นจำเลยสังคมว่าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาได้อย่างที่ควรจะ เป็น ก็ยังมีครูและผู้อำนวยการจำนวนกว่าร้อยคนจากหลายสิบโรงเรียน ทั้งโรงเรียนเล็กและใหญ่ซึ่งมีข้อจำกัดแตกต่างกัน มารวมตัวกันที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการ 'แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ'
  • ต้นแบบพัฒนาผู้เรียนจากปัญญาภายใน ด้วยกระบวนการจิตศึกษา ที่ทำให้เด็กๆ มีสมาธิในการเรียน รู้จักรับผิดชอบ มีความเคารพตัวเอง และผู้อื่น เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่มีการดุด่าว่าตี มีแต่การสอนด้วยความรักและความอ่อนโยน ถือว่าเป็นโรงเรียนที่คุณครูพูดเสียงเบาที่สุดก็เป็นได้
  • ต้นแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ Problem-based learning (PBL) เป็นการเรียนการสอนนอกตำราเรียน แต่เป็นการพัฒนาทักษะโดยการตั้งคำถาม แล้วให้เด็กๆ ช่วยกันหาคำตอบและนำเสนอข้อค้นพบด้วยตัวเอง เช่น จากการสอนเรื่องไดโนเสาร์เปลี่ยนเป็นการตั้งคำถามกับเด็กๆ ว่าในบ้านเรามีอะไรที่กำลังสูญพันธุ์เหมือนไดโนเสาร์บ้าง?”
  • ต้นแบบการพัฒนาครูด้วยชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพหรือ Professional Learning Community (PLC) เป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู เพื่อยกระดับทักษะการสอน โดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ แต่สามารถต่อยอด หรือปรับใช้หลักสูตรจากโรงเรียนอื่นๆ ในเครือข่ายให้เหมาะสมกับโรงเรียนของตัวเองได้
  • แม้ว่าเราจะเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ แต่เราก็ได้รับพลังงานมหาศาลจากครูผู้ลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตัว เอง โดยไม่จำเป็นต้องรอคำสั่งหรือนโยบายจากใคร เริ่มต้นจากการเปลี่ยนวิธีคิดของตนเอง เปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน จนโรงเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษา และสร้างเครือข่ายโรงเรียนใกล้เคียงให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสักวันหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยความตั้งใจของครูร้อยกว่าคน นี้ จะขยายไปสู่โรงเรียนจำนวนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาไทยได้ในที่สุด
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมาประกอบด้วยการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นการนำเสนอกรณีศึกษาในหัวข้อ 'PLC กับการพัฒนาครู' โดยกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน และหัวข้อ 'การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติของปัญญาภายในและปัญญาภายนอก' โดย คณะครู โดยกิจกรรมต่างๆ ผู้บริหารและครูทุกคนก็แสดงความมีส่วนร่วมกันอย่างเต็มที่ ทั้งการจดอย่างละเอียดยิบ จดชื่อหนังสือและลิงก์เว็บไซด์ที่จะเอาไปค้นข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าจดไม่ทันก็ยกกล้องขึ้นมาถ่ายเก็บไว้ และยังออกไอเดียแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างเต็มจนเราต้องยอมรับว่ายังไม่เคย เห็นงานเสวนาการศึกษาที่คึกคักขนาดนี้มาก่อน
 
นอกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างครูและผู้บริหารโรงเรียนต่างๆ แล้วยังเป็นการจุดประกายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ การจัดการเรียนการสอนแบบ Problem-based Learning จากครูที่มีประสบการณ์ทำแผนการสอนมาก่อน จึงสามารถแนะนำแผนการสอนที่ประสบความสำเร็จให้กับครูคนอื่นๆ ได้ แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ทำให้เด็กๆ มีทักษะในการคิดการค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง การพูด/นำเสนอผลงาน และการทำงานเป็นกลุ่ม
ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่หลายโรงเรียนพบ คือสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กๆ จากเดิมที่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก ให้เป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองกล้าพูด และนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้ และจากเดิมที่เด็กๆ ไม่อยากไปโรงเรียนก็ทำให้เด็กๆ รู้สึกอยากมาโรงเรียนมาเจอเพื่อนๆ มากอดคุณครู (ส่วนหนึ่งของกิจกรรมจิตศึกษา) รักการเรียนรู้ และสนุกกับการตอบคำถาม
คุณครูเหล่านี้ไม่ได้รวมตัวกันเพียงเพื่อมาหาเทคนิคการสอน หรือวิธีการบรรลุตัวชี้วัดต่างๆ เหมือนงานสัมมนาทั่วไป แต่เป็นการส่งต่อสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ จากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียนหนึ่ง ภายใต้เป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น คือการปฏิรูปการศึกษาไทยในที่สุด นอกจากนี้กระบวนการดังกล่าวยังทำให้เกิดการยอมรับชื่นชมปลุกจิตวิญญาณของ ความเป็นครู และสร้างความภาคภูมิใจให้กับครูผู้กล้าลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นกำลังใจสำคัญในการต่อสู้กับอุปสรรค และทุ่มเทเพื่อสร้างสิ่งดีๆ ที่เกิดประโยชน์กับเด็กๆ มากกว่าการจัดการเรียนการสอนตามหนังสือ หรือตำราแบบเดิมๆ อีกด้วย
สำหรับเราแล้ว เราเคยพูดถึงคำว่า 'การปฏิรูปการศึกษา' หรือ 'Education Reform' อยู่ หลายครั้งทั้งทาง Social Media และกับผู้คนรอบข้างที่คอยเข้ามาให้ความสนใจกับสิ่งที่เราทำ แต่วันนี้เราอยากบอกทุกคนว่าการปฏิรูปการศึกษาได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ไม่ใช่จากนโยบายหรือหลักสูตรที่กำหนดโดยกระทรวง ไม่ต้องรอให้คนรุ่นใหม่เข้ามาแก้ไขอย่างที่คนชอบพูดกัน แต่เกิดจากการลงมือทำจริงของครูตัวเล็กๆ ที่มีใจอยากให้นักเรียนของตัวเองได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ภายใต้การสนับสนุนจากครูวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หน่วยงานภาคเอกชนอย่างกองทุนคนไทยใจดี (BKIND) ของ บลจ.บัวหลวง สถาบันการศึกษา IRES เป็นต้น
พวกเราทุกคนต่างก็เห็นว่าการศึกษาไทยมีปัญหา แต่ไม่รู้ว่าจะมีสักกี่คนที่ลุกขึ้นมาแก้ไข เราอย่าปล่อยให้ครูกลุ่มนี้ต่อสู้อย่างเดียวดายเลย ช่วยกันบอกเล่าเรื่องราว เพื่อเป็นกำลังใจให้ครูร้อยกว่าคนนี้ ขยายออกไปเป็นพันเป็นหมื่นเป็นล้านคนจนปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบในที่ สุด...เพราะเรายังมีความหวัง :)

จาก School of Changemakers
 http://www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=345

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

รายการ เวทีสาธารณะ ตอน "เพาะเมล็ดพันธุ์ เรียนรู้นอกกะลา" Thai PBS

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
โดย  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา รายการ เวทีสาธารณะ ตอน "เพาะเมล็ดพันธุ์ เรียนรู้นอกกะลา" Thai PBS วันที่ 18 -19 กุมภาพันธ์ 2559

วิกฤตการศึกษา เด็กไทยขาดทักษะคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา การเรียนรู้นอกกะลาใช้ปัญหาเป็นโจทย์ มีนักเรียนเป็นผู้หาคำตอบ ส่วนการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ที่กำลังขยายตัวเป็นเครือข่ายโรงเรียนต้นแบบ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

โครงการงอกนอกกะลา โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ภูมิหลัง
ด้วยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดำเนินการเพื่อ 2 วัตถุประสงค์หลักได้แก่
1.เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างด้วยการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและนวัตกรรมองค์กร
1.1นวัตกรรมสำหรับการเรียนการสอนเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อ
การดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในศตวรรษที่ 21 และ จากการที่ทดลองและพัฒนามากว่า 10 ปีจึงได้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญสองนวัตกรรมคือ(1)“จิตศึกษา” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้เรียน
ไปถึงปัญญาภายในได้แก่ การมีจิตใหญ่เพื่อรักได้อย่างมหาศาล  การเคารพคุณค่าตัวเองและคนอื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างภารดรภาพ การมีสติชำนาญเพื่อเท่าทันอารมณ์  การมีสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้สำเร็จ  การมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น เป็นต้น  และ (2) “หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ(PBL- Problem based learning)” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็นActive Learning ที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึง
ปัญญาภายนอก  ได้แก่ Reading comprehension, Writing, Arithmetic, ICT skills, Thinking skills, Life & Career skills, Collaboration skill  and Core subject
1.2พัฒนานวัตกรรมสำหรับองค์กรเพื่อมุ่งพัฒนาครู และการพัฒนาองค์กรที่เรียกว่า “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ” (PLC-Professional learning community) ซึ่งมีองค์ประกอบสองส่วนที่สำคัญคือ การสร้างความเป็นชุมชนให้เกิดขึ้นในองค์กร และ การจัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหลากหลายระหว่างกันเป้าหมายสำคัญของ PLC คือ การสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะสอน  มีทักษะการจัดการเรียนการสอนและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู



รูปแบบการทำงานของ 3 นวัตกรรม PLC, PBL และ จิตศึกษาที่จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

2.เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนของรัฐให้มากขึ้น และให้ถึงผู้เรียนจำนวนมากขึ้น ในที่สุดจะเกิด Critical mass สำหรับการปฏิรูปการศึกษาของไทยต่อไป


ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
กระบวนการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบได้ดำเนินการกิจกรรม ดังนี้
1.เปิดรับให้ครู หรือโรงเรียนต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน 1 วัน (Open eyes)เพื่อจุดประกายให้เห็นความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมทั้งสามอย่าง
2.โรงเรียนที่ต้องการใช้นวัตกรรมหรือวิธีการบางส่วน หลังจาก Open eyes แล้วกลับมาอบรมระยะสั้น 2-3 วัน ก็จะสามารถนำไปใช้ได้
3.โรงเรียนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ จะมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 
ระยะที่หนึ่ง
-          กระบวนการ  Open eyes
-          อบรมหลักสูตรยาว 5-10 วัน เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมทั้งหมด PLC  PBL และ จิตศึกษา
-          นำกลับไปใช้ โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตาม Monitor/Mentor สาธิตการสอน ร่วมทำ Lesson study  ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ PLC ปีละ 2-4 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียน)
-          ถ่ายทำคลิปวีดีโอการสอนของครูในทุกชั้นเรียนเพื่อให้ครูเรียนรู้จากการสอนได้มากขึ้น
ระยะที่สอง
-          สร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และทำ PLC online เพื่อการเรียนรู้ข้ามโรงเรียนและเพื่อ Empowerment ครู
-          จัด Conference ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นำเสนอความสำเร็จ และเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสังคม












รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนของรัฐให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในการปฏิรูปการจัดการศึกษา





วัตถุประสงค์ในการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)ระหว่างวันที่
18 -19 กุมภาพันธ์ 2559
1. เสริมสร้างพลังครูและผู้บริหารของโรงเรียนต้นแบบ(Model school)และโรงเรียนเครือข่าย สามารถนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับผู้เรียนในมิติของปัญญาภายในและปัญญาภายนอก
2.กระตุ้นให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้(Node)ของโรงเรียนต้นแบบ สู่การปฏิรูปการศึกษาของประเทศ
3.สื่อสารสร้างการเรียนรู้ ให้ครูและสังคมได้เข้าใจบทบาทใหม่ของครูมืออาชีพที่จะพัฒนาทักษะความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้และจิตวิญญาณความเป็นครู
4.โรงเรียนต้นแบบทุกโรงเรียนสามารถออกแบบวางแผนทิศทางการพัฒนาโรงเรียนระบุเป้าหมายกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในปีการศึกษา 2559 ได้อย่างชัดเจน

กลุ่มเป้าหมายโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
1. ตัวแทนผู้บริหารและคณะครูโครงการ “งอกนอกกะลา”(NNK)       จำนวน 40คน
2. ตัวแทนผู้บริหารและคณะครูโครงการ “BKIND”                      จำนวน 15คน
3. ตัวแทนผู้บริหารและคณะครูโครงการอื่น                     จำนวน  20คน
รวมจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น                                               75คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เกิดเครือข่ายพัฒนาโรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับผู้เรียนในมิติของปัญญาภายในและปัญญาภายนอก
2.เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และเกิดการรับรู้ เกี่ยวกับโรงเรียนต้นแบบในระดับประเทศ
3.โรงเรียนต้นแบบได้แผนพัฒนาตนเองและแผนการขยายผลเพื่อสร้างโรงเรียนเครือข่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
- ระยะเวลาดำเนินงานตลอดโครงการมกราคม 2558 – ธันวาคม 2562 (ระยะเวลา 5 ปี)
- ระยะเวลาดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
วันที่ 18 -19กุมภาพันธ์ 2559

คณะทำงานของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)

คณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรียนรู้ไปด้วยกัน Parent course 2

.....เรียนรู้ไปด้วยกัน.. 3-4 มีค 59  กลุ่มแกนนำผู้ปกครอง
โรงเรียนหนองอารีพิทยา
โรงเรียนบ้านโนนดั่ง
โรงเรียนบ้านคลองเพชรสวย
โรงเรียนบ้านปะทาย และโรงเรียนบ้านนาขนวน
......
จะช่วยครูในเรื่องการจัดการเรียนการสอนอย่างไร?
จะช่วยดูแลนักเรียนหรือลูกๆ อย่างไร?
จะช่วยภาพรวมทั้งหมดของโรงเรียนอย่างไร?
จะช่วยสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองที่ไม่ใช่แกนนำอย่างไร?











วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

Open eyes : ค้นหา เพื่อสร้างโอกาส

Open eyes คณะครูโรงเรียนบ้านน้ำพาง จ.น่าน
ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2559
ผอ.และคณะครูจำนวน 12 คน

- สังเกต เห็นอะไร และรู้สึกอย่างไร?
- คิดว่า....ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

กระบวนการ สะท้อนตนเอง
 เพื่อร่วมเป็นหนึ่งใน การปฏิวัติการศึกษา
I ในโครงการงอกนอกกะลา I  ณ. โรงเรียนลำปลายมาสพัฒนา















ขอบคุณ:ขุมทรัพท์ ที่มีคุณค่า...

โครงการงอกนอกกะลา : สนับสนุนนิทานและวรรณกรรม สำหรับเด็กๆ

เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเป็นเครื่องมือสื่อสารความรู้สึกนึกคิดถ่ายทอดจิตนาการและแสดงออกซึ่งศิลปะอันประณีตงดงาม...
ขอบคุณภาพจาก : ผอ.สร้อยทิพย์  ไทยน้อย  โรงเรียนบ้านโนนดั่ง สพป.ศรีสะเกา เขต 3







วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวทีสาธารณะ ThaiPBS | เครือข่ายโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา

 ทีมงานรายการเวทีสาธารณะ ตอนนี้อยู่ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ซึ่งถือเป็นโรงเรียนต้นแบบ ในการปฏิรูปครู ปฏิรูปการเรียนการสอน ความโดดเด่นของที่นี่คือการไม่มีหนังสือเรียน ไม่มีตำรา ไม่มีเสียงกดออด
และวันนี้มีครูและผู้บริหารจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ.รวมถึงผู้ปกครอง กว่า 100 มาร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนต้นแบบ ติดตามการพูดคุยกันได้เร็วๆนี้ในรายการเวทีสาธารณะค่ะ
 

ทีมงานรายการเวทีสาธารณะ ตอนนี้อยู่ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ซึ่งถือเป็นโรงเรียนต้นแบบ ในการปฏิรูปครู ปฏิรูปก...
Posted by เวทีสาธารณะ ไทยพีบีเอส on 17 กุมภาพันธ์ 2016