ครู NNK น่านได้ร่วมกันถอดความเข้าใจ เรื่อง กระบวนการ PLC ของครูใหญ่ ดังนี้ค่ะ
ในวง PLC ถ้าไม่ได้คุยกันแบบ Creative Discussion จะทำให้เกิดการทะเลาะกัน ไม่เห็นพ้องต้องกัน ไม่เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพราะหัวใจของ PLC เวลาที่คนคุยกันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ถ้าคนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาจะทำให้คนๆนั้นไม่เปิดการรับรู้ ปิดการได้ยิน คอยตัดสินว่าใช่หรือไม่ใช่ ไม่ดี ไม่เอา ไม่จริง เป็นไปไม่ได้ ไม่ยอม น่าเบื่อ คำตัดสินเหล่านั้นทำให้การเรียนรู้ร่วมกันล้มเหลว การสร้างสนามพลังบวกจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้คนมีสภาพพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกันดังนั้นการอยู่ในวง PLC มี ขั้นตอน ดังนี้
1 . การเตรียมสภาวะจิต ทำให้คนที่เข้าร่วมวงเกิดการรู้ตัว มีสติ กลับมาอยู่กับตัวเอง ทันความคิด ทันความรู้สึก กิจกรรมที่นำมาใช้เช่น กิจกรรมจิตศึกษาและการนั่งสมาธิ
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการนำความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนกันคุยกันแบบ Dialogue โดยยกตัวอย่างความสำเร็จของนักเรียน ความสำเร็จของตนเองว่าสำเร็จอย่างไร จากการสอนสำเร็จอย่างไร ความสำเร็จนั้นเป็นอย่างไร เราทำอย่างไรถึงสำเร็จ จะมีทั้งอะไรและอย่างไรอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นในกระบวนการนี้ทุกคนจะได้เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ได้วิธีการของความสำเร็จนั้นถ้าเราเปิดวงคุยกันด้วยความสำเร็จก็จะทำให้จิตเกิดความปิติเบิกบานเกิดการอย่างฟัง แต่ความสำเร็จนั้นต้องเกิดจากการปฏิบัติจริง การ PLC ที่แท้จริงเกิดจากครูนักปฏิบัติ ปฏิบัติจนเกิดปัญญาปฏิบัติถ้าหากครูไม่ปฏิบัติก็จะไม่มีอะไรมาแลกเปลี่ยนในวงวิธีการที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นจริงอาจจะนำชิ้นงานและภาระงานมาแลกเปลี่ยนด้วยเพื่อให้เห็นว่าชิ้นงานแบบนี้ทำไมถึงเกิดขึ้น และเด็กได้อะไรจากเรื่องนี้
3. ระบุปัญหาเพื่อหาแนวทางร่วมกันอาจจะเป็นปัญหาในการเรียนการสอน หรือเนื้อหาบางเนื้อหา(LS) ปัญหาของเด็กบางคน เด็ก LD (CS) และปัญหาการออกแบบหน่วยการเรียนจะออกแบบอย่างไร จะจัดการอย่างไร จะประเมินอย่างไร(SS) เวลาพูดคุยถกเถียงกันต้องพูดคุยถกเถียงกันอย่างมีสติ เป็นการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ฟังไปด้วยจนเกิดปัญญาร่วม การระบุปัญหาจะต้องระบุให้ชัดเจน ไม่ต้องนำมาทุกปัญหา
4. การ Empower ชื่นชมและขอบคุณ