หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

โครงการงอกนอกกะลา โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ภูมิหลัง
ด้วยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดำเนินการเพื่อ 2 วัตถุประสงค์หลักได้แก่
1.เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างด้วยการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและนวัตกรรมองค์กร
1.1นวัตกรรมสำหรับการเรียนการสอนเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อ
การดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในศตวรรษที่ 21 และ จากการที่ทดลองและพัฒนามากว่า 10 ปีจึงได้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญสองนวัตกรรมคือ(1)“จิตศึกษา” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้เรียน
ไปถึงปัญญาภายในได้แก่ การมีจิตใหญ่เพื่อรักได้อย่างมหาศาล  การเคารพคุณค่าตัวเองและคนอื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างภารดรภาพ การมีสติชำนาญเพื่อเท่าทันอารมณ์  การมีสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้สำเร็จ  การมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น เป็นต้น  และ (2) “หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ(PBL- Problem based learning)” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็นActive Learning ที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึง
ปัญญาภายนอก  ได้แก่ Reading comprehension, Writing, Arithmetic, ICT skills, Thinking skills, Life & Career skills, Collaboration skill  and Core subject
1.2พัฒนานวัตกรรมสำหรับองค์กรเพื่อมุ่งพัฒนาครู และการพัฒนาองค์กรที่เรียกว่า “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ” (PLC-Professional learning community) ซึ่งมีองค์ประกอบสองส่วนที่สำคัญคือ การสร้างความเป็นชุมชนให้เกิดขึ้นในองค์กร และ การจัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหลากหลายระหว่างกันเป้าหมายสำคัญของ PLC คือ การสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะสอน  มีทักษะการจัดการเรียนการสอนและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู



รูปแบบการทำงานของ 3 นวัตกรรม PLC, PBL และ จิตศึกษาที่จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

2.เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนของรัฐให้มากขึ้น และให้ถึงผู้เรียนจำนวนมากขึ้น ในที่สุดจะเกิด Critical mass สำหรับการปฏิรูปการศึกษาของไทยต่อไป


ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
กระบวนการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบได้ดำเนินการกิจกรรม ดังนี้
1.เปิดรับให้ครู หรือโรงเรียนต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน 1 วัน (Open eyes)เพื่อจุดประกายให้เห็นความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมทั้งสามอย่าง
2.โรงเรียนที่ต้องการใช้นวัตกรรมหรือวิธีการบางส่วน หลังจาก Open eyes แล้วกลับมาอบรมระยะสั้น 2-3 วัน ก็จะสามารถนำไปใช้ได้
3.โรงเรียนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ จะมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 
ระยะที่หนึ่ง
-          กระบวนการ  Open eyes
-          อบรมหลักสูตรยาว 5-10 วัน เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมทั้งหมด PLC  PBL และ จิตศึกษา
-          นำกลับไปใช้ โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตาม Monitor/Mentor สาธิตการสอน ร่วมทำ Lesson study  ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ PLC ปีละ 2-4 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียน)
-          ถ่ายทำคลิปวีดีโอการสอนของครูในทุกชั้นเรียนเพื่อให้ครูเรียนรู้จากการสอนได้มากขึ้น
ระยะที่สอง
-          สร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และทำ PLC online เพื่อการเรียนรู้ข้ามโรงเรียนและเพื่อ Empowerment ครู
-          จัด Conference ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นำเสนอความสำเร็จ และเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสังคม












รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนของรัฐให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในการปฏิรูปการจัดการศึกษา





วัตถุประสงค์ในการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)ระหว่างวันที่
18 -19 กุมภาพันธ์ 2559
1. เสริมสร้างพลังครูและผู้บริหารของโรงเรียนต้นแบบ(Model school)และโรงเรียนเครือข่าย สามารถนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับผู้เรียนในมิติของปัญญาภายในและปัญญาภายนอก
2.กระตุ้นให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้(Node)ของโรงเรียนต้นแบบ สู่การปฏิรูปการศึกษาของประเทศ
3.สื่อสารสร้างการเรียนรู้ ให้ครูและสังคมได้เข้าใจบทบาทใหม่ของครูมืออาชีพที่จะพัฒนาทักษะความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้และจิตวิญญาณความเป็นครู
4.โรงเรียนต้นแบบทุกโรงเรียนสามารถออกแบบวางแผนทิศทางการพัฒนาโรงเรียนระบุเป้าหมายกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในปีการศึกษา 2559 ได้อย่างชัดเจน

กลุ่มเป้าหมายโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
1. ตัวแทนผู้บริหารและคณะครูโครงการ “งอกนอกกะลา”(NNK)       จำนวน 40คน
2. ตัวแทนผู้บริหารและคณะครูโครงการ “BKIND”                      จำนวน 15คน
3. ตัวแทนผู้บริหารและคณะครูโครงการอื่น                     จำนวน  20คน
รวมจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น                                               75คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เกิดเครือข่ายพัฒนาโรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับผู้เรียนในมิติของปัญญาภายในและปัญญาภายนอก
2.เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และเกิดการรับรู้ เกี่ยวกับโรงเรียนต้นแบบในระดับประเทศ
3.โรงเรียนต้นแบบได้แผนพัฒนาตนเองและแผนการขยายผลเพื่อสร้างโรงเรียนเครือข่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
- ระยะเวลาดำเนินงานตลอดโครงการมกราคม 2558 – ธันวาคม 2562 (ระยะเวลา 5 ปี)
- ระยะเวลาดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
วันที่ 18 -19กุมภาพันธ์ 2559

คณะทำงานของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)

คณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา