หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

"จิตศึกษา" หมายถึงอย่างไร

มีหลายคนถามว่า "จิตใหญ่" ใน "จิตศึกษา" หมายถึงอย่างไร
ผมอยากชี้ให้เห็นว่าเรามีความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆอยู่หลายระดับ คำว่า "จิตใหญ่" ก็มีหลายระดับของความเข้าใจ
..
ระดับสุตมยปัญญา. ผมนิยามให้จดจำข้อความได้ดังนี้
จิตใหญ่ เป็นจิตสำนึกใหม่ที่เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เป็นจิตที่เปิดออกนอบน้อมอย่างเคารพเพื่อการเชื่อมต่อกับผู้คนและสรรพสิ่ง
..
ระดับจินตมยปัญญา
ผมให้โจทย์ แล้วลองขบคิดใคร่ครวญให้รอบต่อปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้ดู ก็จะเข้าใจ "จิตใหญ่" ในระดับจินตมยปัญญา
1. เมื่อเรารับหินมาก่อสะพานข้ามแม่น้ำเพื่อให้ผู้คนสัญจร เราจำเป็นต้องมองมือของผู้ที่หยิบยื่นก้อนหินให้ด้วยหรือไม่. ว่าเป็นมือโจร เป็นมือของยาจก หรือเป็นมือนักบวช.
2. เมื่อเราจะให้ทาน เราจำเป็นต้องมองมือที่รับด้วยหรือไม่ ว่า เป็นมือของโจร เป็นมือของยาจก หรือเป็นมือของนักบวช
3. เมื่อเราให้ทาน เราอธิษฐานขอให้ตนเอง หรือ อธิษฐานขอให้แก่ผู้รับ
..
ส่วนระดับภาวนามยปัญญา คือ"สภาวะของการมีจิตใหญ่" ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้ทำหลังจากการนำ "จิตศึกษา" ไปใช้กับผู้เรียนหรือผู้อื่นอย่างยาวนาน จนสภาวะแห่งความเข้าใจนั้นปรากฏขึ้น
...
#เรียนนอกกะลา

#วิเชียน  ไชยบัง